วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวสวิสเซอร์แลนด์















จดทะเบียนสมรสกับชาวสวิส

จดทะเบียนสมรสกับชาวสวิสในประเทศไทย 

สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ กรุงเทพฯ
ข้อแนะนำการจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย
บุคคลสัญชาติสวิสที่ประสงค์จะจดทะเบียนสมรสกับบุคคลสัญชาติไทยในประเทศไทยต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
ท่านต้องไปติดต่อที่สถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมทั้งยื่นเอกสารดังต่อไปนี้

สำหรับบุคคลสัญชาติสวิส
  • หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
  • หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน (สำหรับผู้ที่ขึ้นทะเบียนกับสถานทูตฯ ไม่จำเป็นต้องใช้)
  • ต้นฉบับใบรับรองรายได้หรือใบรับรองสถานะทางการเงิน(เช่น ใบรับรองเงินเดือน, ใบรับรองเงินบำนาญ หรือใบรับรองเงินฝากธนาคาร)
  • ที่อยู่ของบุคคลอ้างอิงในประเทศสวิตเซอร์แลนด์จำนวน 2 แห่ง(ไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารราชการ เพียงแค่แจ้งข้อมูลที่อยู่เท่านั้น)
  • หนังสือเดินทาง
  • หนังสือรับรองสถานภาพการสมรสสามารถขอได้ที่สำนักทะเบียนถิ่นฐานเดิมของท่าน
  • หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่สามารถขอได้ที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ท่านพำนักอยู่

สำหรับบุคคลสัญชาติไทย

  • ทะเบียนบ้านสำหรับช่วงเวลาพำนัก 6 เดือนล่าสุด
  • สูติบัตรที่มีข้อมูลชื่อตัวและชื่อสกุลของบิดามารดา
  • หลักฐานแสดงสถานภาพ (โสด, หย่าร้าง,ม่าย) ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 เดือน
  • สำเนาทะเบียนครอบครัว
  • สำเนาทะเบียนการหย่า (กรณีสถานภาพหย่าร้าง)
  • มรณบัตรของคู่สมรสเดิมที่ถึงแก่กรรม (กรณีสถานภาพม่าย)
  • หนังสือเดินทางประเทศไทยหรือบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีไม่มีหนังสือเดินทาง)
  • ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล
  • สำหรับบุตรที่มีร่วมกัน
  • สูติบัตร
  • หนังสือเดินทางประเทศไทย
  • ทะเบียนรับรองบุตร (ถ้าเป็นไปได้)

ท่านต้องยื่นต้นฉบับเอกสารต่างๆนี้หรือทั้งสำเนาที่ได้รับรองสำเนาถูกต้องอย่างเป็นทางการแล้ว
ท่านต้องนำเอกสารต่างๆที่เป็นภาษาไทยไปให้สำนักงานแปลเอกสารแปลเป็นภาษาราชการของ
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ภาษาใดภาษาหนึ่ง
 (ภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส หรืออิตาเลียน) 
รายชื่อสำนักงานแปลเอกสารดูได้ที่
www.eda.admin.ch/bangkok

สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกตรวจสอบเอกสารโดยให้ผ่านการรับรองจากระทรวงการ
ต่างประเทศและอาจมีการเรียกขอเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมจากหน่วยงานราชการควบคุมประจำรัฐได้

Embassy of Switzerland
35 NorthWireless Road, (Thanon Witthayu)
Bangkok 10330
G.P.O. Box 821, Bangkok 10501
Telefon: 02 253 01 56-60, Fax: 02 255 44 81
ban.vertretung@eda.admin.ch,
www.eda.admin.ch/bangkok

ชื่อสกุล
ก่อนการสมรส สถานเอกอัครราชทูตฯ จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลที่ตามหลังการสมรสในเรื่องการใช้ชื่อสกุล
จากหลักฐานที่เรียกมาทั้งหมดนี้ สถานเอกอัครราชทตู ฯ จะออกใบขอทำการสมรส (Marriage Application)
 
ฉบับภาษาอังกฤษให้ซึ่งผู้ยื่นขอทำการสมรสต้องนำไปแปลเป็นภาษาไทยใบขอทำการสมรสทั้งต้นฉบับและฉบับแปลนั้น
ต้องให้กระทรวงการต่างประเทศรับรองเพื่อใช้สำหรับการจดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียน
 (อำเภอ) ในกรุงเทพฯ 
หรือต่างจังหวัดที่อยู่กระทรวงการต่างประเทศ

กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
ชั้น
 3 อาคารกรมการกงสุล
123
 ถนนแจ้งวัฒนะ ทุ่งสองห้อง หลักสี่ กทม. 10210
โทร.
 0 2575 1056-58

นอกจากใบขอทำการสมรสแล้ว บุคคลสัญชาติสวิสต้องแสดงหนังสือเดินทางต่อทางอำเภอด้วย
หลังจากทำการสมรสเรียบร้อยแล้ว จะต้องยื่นสำเนาทะเบียนสมรสที่ได้รับการรับรอง จำนวน
 2 ชุด
(ซึ่งเป็นเอกสารที่มีลายมือชื่อของคู่สมรส) ให้แก่สถานเอกอัครราชทูตฯ สำนักทะเบียนจะออกสำเนาทะเบียนการสมรสนี้
ให้เมื่อได้รับการร้องขอจากคู่สมรส
 (ไม่ใช่ใบสำคัญการสมรสที่มีกรอบสี) การจดทะเบียนสมรสลงในทะเบียนครอบครัวที่
สำนักทะเบียนถิ่นฐานเดิมในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น

จะใช้ระยะเวลาประมาณ
 2 เดือน

ค่าธรรมเนียม
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของสถานเอกอัครราชทูตฯ นั้นเป็นไปตามบทบัญญัติเรื่องค่าธรรมเนียมของสถาน-
เอกอัครราชทูตและสถานกงสุลสวิตเซอร์แลนด์ลงวันที่29.11.2006
 และบทบัญญัติเรื่องค่าธรรมเนียมในเรื่องงานทะเบียน 
ลงวันที่
 27.10.1999 สำหรับการออกใบขอทำการสมรส จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นเงินประมาณ 150.- ฟรังก์สวิส
(ชำระเป็นอัตราเงินท้องถิ่น)

การเดินทางเข้าประเทศและการขอพำนักในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
คู่สมรสชาวต่างชาติต้องได้รับการอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศจากตำรวจควบคุมคนต่างด้าวของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
โดยต้องยื่นคำร้องขอเดินทางเข้า
 (แบบคำร้อง 3 ชุด) พร้อมรูปถ่าย 3 ใบ ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
ซึ่งคำร้องดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังตำรวจควบคุมคนต่างด้าวเพื่อพิจารณาการดำเนินการจนกระทั่งได้รับคำตอบอนุญาต
ให้เดินทางเข้าประเทศนั้นใช้เวลาประมาณ
 8 สัปดาห์หากผู้ยื่นคำร้องประสงค์จะพำนักในประเทศสวิตเซอร์แลนด์หลังการสมรส
ต้องเตรียมขอคัดทะเบียนอาชญากรรมของประเทศไทยด้วย
 (โดยขอเป็นภาษาอังกฤษหรือแปลเป็นภาษาราชการของสวิส
ภาษาใดภาษาหนึ่ง) สามารถขอคัดทะเบียนอาชญากรรมได้ที่

ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ
กองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กองกำกับการงาน
 3 อาคาร 24 ถนนพระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร
 0 2205 2168-9


จดทะเบียนสมรสกับชาวสวิสในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ 

สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์กรุงเทพฯ
ข้อแนะนำการจดทะเบียนสมรสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์สำนักทะเบียนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการควบคุมประจำรัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบคำถามเรื่อง
การจดทะเบียนสมรสพร้อมทั้งให้ข้อมูลเรื่องระเบียบและเอกสารที่ผู้ยื่นขอทำการสมรสต้องนำไปแสดง
ผู้ยื่นขอทำการสมรสที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ควรสอบถามรายละเอียดการดำเนินการที่สำนักทะเบียน
ที่คาดว่าจะทำการสมรสบุคคลสัญชาติสวิสที่มีถิ่นที่อยู่หรือพำนักชั่วคราวในประเทศไทยและบุคคลสัญชาติไทย
ควรดำเนินการดังต่อไปนี้ท่านต้องไปติดต่อ ที่สถานเอกอคัรราชทตุฯ พร้อมทั้งยื่นต้นฉบับเอกสารดังต่อไปนี้

สำหรับบุคคลสัญชาติสวิส
หากผู้ยื่นขอทำการสมรสสัญชาติสวิสพำนักในประเทศไทยและยังไม่เดินทางกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์
จนกว่าจะจดทะเบียนสมรสสามารถยื่นคำร้องขอเตรียมการสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
 
ได้พร้อมทั้งยื่นเอกสารเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
  • หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส (มีอายุไม่เกิน 6 เดือน)
  • หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่(มีอายุไม่เกิน 6 เดือน)
  • หนังสือเดินทาง(สถานเอกอัครราชทูตฯ จะเป็นผู้ออกหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ให้กับผู้ที่ขึ้นทะเบียนกับสถานเอกอัครราชทูตฯ)
  • หนังสือรับรองสถานภาพการสมรสสามารถขอได้ที่สำนักทะเบียนถิ่นฐานเดิมของท่าน
  • หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่สามารถขอได้ที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ท่านพำนักอยู่

สำหรับบุคคลสัญชาติไทย

  • สำเนาคำร้องขอเตรียมการสมรสที่กรอกโดยผู้ยื่นขอทำการสมรสกับสัญชาติสวิส เรียบร้อยแล้วในกรณีที่ผู้ยื่นขอทำการสมรสที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้มายื่นเอกสารด้วย
  • ทะเบียนบ้านสำหรับช่วงเวลาพำนัก 6 เดือนล่าสุด
  • สตูิบัตรที่มีข้อมูลชื่อตัวและชื่อสกลุ ของบิดามารดา
  • หลักฐานแสดงสถานภาพ (โสด, หย่าร้าง,ม่าย) ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 เดือน
  • สำเนาทะเบียนครอบครัว
  • สำเนาทะเบียนการหย่า (กรณีสถานภาพหย่าร้าง)
  • มรณบตั รของค่สู มรสเดมิ ที่ถงึ แก่กรรม (กรณีสถานภาพม่าย)
  • หนังสือเดินทางประเทศไทยหรือบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีไม่มีหนังสือเดินทาง)
  • ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล
  • สำหรับบุตรที่มีร่วมกัน
  • สูติบัตร
  • หนังสือเดินทางประเทศไทย
  • ทะเบียนรับรองบุตร (ถ้าเป็นไปได้)

ท่านต้องยื่นต้นฉบับเอกสารต่างๆนี้ หรือสำเนาที่ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว

สำเนาเอกสารที่รับรองสำเนาถูกต้องรวมทั้งเอกสารคัดจากทะเบียนราษฎร์ต่างๆ
นั้นจะสามารถใช้ได้ก็ต่อเมื่อได้รับการประทับตราสีแดงของอำเภอหรือได้รับการรับรองจาก
กระทรวงการต่างประเทศของไทยเท่านั้น

Embassy of Switzerland
35 NorthWireless Road, (Thanon Witthayu)
Bangkok 10330
G.P.O. Box 821, Bangkok 10501
Telefon: 02 253 01 56-60, Fax: 02 255 44 81
ban.vertretung@eda.admin.ch,
www.eda.admin.ch/bangkok

ท่านต้องนำเอกสารต่างๆที่เป็นภาษาไทยไปให้สำนักงานแปลเอกสารแปลเป็นภาษาราชการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ภาษาใดภาษาหนึ่ง
 (ภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส หรืออิตาเลียน) รายชื่อสำนักงานแปลเอกสารดูได้ที่ www.eda.admin.ch/bangkok

สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกตรวจสอบเอกสารโดยให้ผ่านการรับรองจากระทรวงการต่างประเทศ 
และอาจมีการเรียกขอเอกสารอื่นๆเพิ่มเติมจากหน่วยงานราชการควบคุมประจำรัฐได้

เมื่อยื่นเอกสารทั้งหมดแล้ว ท่านต้องกรอกแบบคำร้องต่างๆ ดังนี้ ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
-คำร้องขอเตรียมการสมรส
-คำแถลงเรื่องเงื่อนไขในการจดทะเบียนสมรส
สถานเอกอัครราชทูตฯ จะดำเนินการส่งคำร้องขอเตรียมการสมรสและคำแถลงเรื่องเงื่อนไขในการจดทะเบียนสมรส
 
พร้อมทั้งเอกสารต่างๆดังที่กล่าวมานี้ไปยังสำนักทะเบียนที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการสมรสโดยผ่านหน่วยงานทะเบียนกลาง
ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่กรุงเบิร์น

ชื่อสกุล
ก่อนการสมรส สำนักทะเบียนในประเทศสวิตเซอร์แลนด์หรือสถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
การใช้ชื่อสกุลหลังการสมรส

ค่าธรรมเนียม
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของสถานเอกอัครราชทูตฯ
นั้นเป็นไปตามบทบัญญัติเรื่องค่าธรรมเนียมของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลสวิตเซอร์แลนด์ลงวันที่29.11.2006
และบทบัญญัติเรื่องค่าธรรมเนียมในเรื่องงานทะเบียน ลงวันที่27.10.1999
 โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นเงินประมาณ 
215
 ฟรังก์สวิส (ชำระเป็นอัตราเงินท้องถิ่น) เมื่อยื่นเอกสาร

การเดินทางเข้าประเทศและการขอพำนักในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
คู่สมรสชาวต่างชาติต้องได้รับการอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศจากตำรวจควบคุมคนต่างด้าวของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
โดยต้องยื่นคำร้องขอเดินทางเข้า
 (แบบคำร้อง 3 ชุด) พร้อมรูปถ่าย 3 ใบ ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
ซึ่งคำร้องดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังตำรวจควบคุมคนต่างด้าวเพื่อพิจารณา การดำเนินการจนกระทั่งได้รับคำตอบอนุญาต
ให้เดินทางเข้าประเทศนั้นใช้เวลาประมาณ
 8 สัปดาห์ หากผู้ยื่นคำร้องประสงค์จะพำนักในประเทศสวติเซอร์แลนด์หลังการสมรส 
ต้องเตรียมขอคัดทะเบียนอาชญากรรมของประเทศไทยด้วย (โดยขอเป็นภาษาอังกฤษ หรือแปลเป็นภาษาราชการของสวิส

ภาษาใดภาษาหนึ่ง) สามารถขอคัดทะเบียนอาชญากรรมได้ที่

ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ
กองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กองกำกับการงาน
 3 อาคาร 24 ถนนพระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร
 0 2205 2168-9
การแจ้งการสมรสที่ประเทศไทย (สำหรับบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน หนังสือเดินทาง)
สำหรับการแจ้งการสมรสที่ประเทศไทย คู่สมรสต้องติดต่อสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตไทยจะแปลและรับรองใบสำคัญการสมรส คู่สมรสต้องนำเอกสาร
 (ใบสำคัญการสมรสพร้อมคำแปล)
ไปให้กระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทยรับรองอีกครั้ง เพื่อที่จะได้นำใปใช้ขอหรือแก้ไขบัตรประจำตัวประชาชน
หนังสือเดินทางที่ประเทศไทย

ต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม หรือสนใจใช้บริการ รับจดทะเบียนสมรสสามารถติดต่อเราได้ที่

สอบถามโทร 0915994999

ไม่มีความคิดเห็น:

รับจดทะเบียนสมรสกับชาวนอร์เวย์

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวนอร์เวย์ 1. ฝ่ายคู่สมรสชาวไทยต้องส่งสำเนาหนังสือเดินทางและถิ่นที่อยู่ตามทะเบียน เขียนหร...