วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวฝรั่งเศส

                              ขั้นตอนดำเนินการจดทะเบียนสมรสกับชาวฝรั่งเศส

MARIAGE EN THAILANDE D' UN RESSORTISSANT FRANÇAIS ET
D' UN RESSORTISSANT 
THAILANDAIS/ETRANGER


ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวฝรั่งเศสในประเทศไทย

ส่งเว็บไซด์ ลิงค์รายการเอกสารนี้ให้คู่สมรสชาวฝรั่งเศสจัดเตรียมเอกสาร
สำหรับคู่สมรสที่จะต้องการยื่นเอกสารคำร้องขอจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยนั้น จะต้องทำการนัดหมายผ่านทางเว็บไซด์เท่านั้น สามารถไปได้ที่
www.ambafrance-th.org/Se-marier-en-Thailande

หลังจากทำการนัดหมายเป็นที่เรียบร้อยและสั่งพิมพ์ใบนัดหมายแล้ว ให้สั่งพิมพ์ใบนัดมายื่นให้กับเจ้าหน้าที่สถานทูตในวันนัดหมาย พร้อมกับเอกสารที่ต้องเตรียมมาดังต่อไปนี้

เอกสารสำหรับบคุคลสัญชาติไทย เอกสารทั้งหมดจะต้องรับรองเอกสารจากกระทรวง(กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ หลักสี่)ให้เรียบร้อยก่อนจากนั้นจึงจะนำมาแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสโดยนักแปลที่ได้รับอนุญาติเท่านั้น(มีรายชื่อนักแปลอยู่ด้านล่าง)

  • สูติบัตร หรือ หนังสือรับรองการเกิด (ทร.20) หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนคนเกิด (ทร.1 ก.) รับรองกทรวงการต่างประเทศ และแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส
  • สำเนาเอกสารแสดงการแปลี่ยนชื่อตัว (ช.3) และ/หรือ ชื่อสกุล (ช.5) ของเจ้าตัว รวมทั้งของบิดามารดา กรณีชื่อตัว และ/หรือชื่อสกุล ไม่ตรงกับสูติบัตร รับรองกทรวงการต่างประเทศ และแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส
  • กรณีหย่า สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนหย่า (คร.6 หรือ คร.7) รับรองกทรวงการต่างประเทศ และแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส
  • กรณีม่าย สำเนาใบมรณะบัตรของอดีตคู่สมรส และสำเนาหลักฐานการจดทะเบียนสมรส รับรองกทรวงการต่างประเทศ และแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ทร.14) หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (ทร.14 ก.) รับรองกทรวงการต่างประเทศ และแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน รับรองกทรวงการต่างประเทศ และแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส
  • สำเนาหนังสือเดินทาง รับรองกทรวงการต่างประเทศ แต่ไม่ต้องแปล

สำคัญมาก!! 
หากคู่สมรสเดิมเสียชีวิต ก่อนจะแต่งงานเราต้องไปยื่น
ขอกลับมาใช้นามสกุลเดิมก่อนจึงจะจดทะเบียนสมรสกับต่างชาติได้

แผนที่สถานทูตฝรั่งเศสที่เราต้องไปยื่นขอหนังสือรับรองการแต่งงาน
ขั้นตอนการดำเนินการด้วยตัวเองทั้งหมด

  • ดาวน์โหลดรายการเอกสารและทำนัดหมายกับสถานทูตทางออนไลน์ตามลิงค์ที่แนะนำไว้ด้านบน 
  • คู่สมรสชาวฝรั่งเศสเตรียมเอกสารมายื่นที่สถานทูตฝรั่งเศส,กรุงเทพ ซอยเจริญกรุง 36
  • นำเอกสารไปรับรองที่กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะหลักสี่ หลังจากนั้นจึงจะนำเอกสารของชาวไทยไปแปลฝรั่งเศส โดยร้านแปลที่สถานทูตอนุญาตเท่านั้น
    (เราคือ 1 ในการชื่อนักแปล สอบถามโทร 0924252894 ในนาม PPT )
  • กรอกแบบฟอร์มคำร้องเป็นภาษาฝรั่งเศส ในการขอจดทะเบียนสมรส จากแบบฟอร์มที่ดาวน์โหลดออกมา ต้องกรอกอย่างระมัดระวัง ให้ตรงกับข้อมูลในเอกสารฉบับแปลแล้วจากไทยเป็นฝรั่งเศสของฝ่ายคู่สมรสชาวไทย
  • นำเอกสารไปยื่นพร้อมกับใบนัดหมายยื่นที่ช่องรักษาความปลอดภัยของหน้าสถานทูต
  • หลังจากเข้าไปแล้วจะมีเจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศส เป็นเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์และคัดกรองเรื่อง
  • แจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่าจะมายื่นเอกสารแต่งงานตามที่มีใบนัดหมายไว้ 
  • หลังจากขึ้นไปในห้องฝ่ายทะเบียน จะมีเจ้าหน้าที่สอบสัมภาษณ์ประวัติการใช้ชีวิตร่วมกันของคู่สมรส หากเอกสารครบถ้วนและผ่านขั้นตอนนี้ จะต้องรอเอกสารใบโสดของคู่สมรสชาวฝรั่งเศสใช้เวลารอ ภายใน 8 สัปดาห์ ทางแผนกทะเบียนราษฏร์ของสถานทูตฝรั่งเศสจะดำเนินการส่งอีเมล์ไปแจ้งเตือน
  • ให้กลับมารับเอกสารจากสถานทูต
เอกสารที่ต้องได้จากสถานทูตมีดังต่อไปนี้
  • หนังสือรับรองสถานภาพสมรส(CCAM ซีซีอาเอ็ม หรือเรียกเต็มๆว่า คาปาซิเต้) ต้องมีตราประทับจากเจ้าหน้าที่กงสุล
  • แบบฟอร์มพยาน (อยู่ในหน้าสุดท้ายของแบบฟอร์มตอนดาวน์โหลดออกมา) ต้องมีตราประทับจากเจ้าหน้าที่กงสุล
  • สำเนาหนังสือเดินทาง(Passport) ที่ได้รับการรับรองสำเนา ต้องมีตราประทับจากเจ้าหน้าที่กงสุล
  • ในวันมารับเอกสารให้ยื่นหนังสือเดินทางและขอให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาถูกต้องด้วยเพราะสำนักงานเขตหรือบางอำเภอจะต้องให้แปลหน้าพาสปอร์ตฝ่ายชาวฝรั่งเศสด้วย เพราะฉะนั้นในวันรับเอกสารใบโสดของชาวฝรั่งเศส ให้ขอให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาหนังสือเดินทางด้วย จึงจะเป็นการดีที่สุด 
  • นำเอกสารทั้งหมดมาแปลเป็นภาษาไทย โดยนักแปลที่ได้รับการรับรองจากสถานทูตเท่านั้น
  • นำเอกสารทั้ง 3 ชุดกลับไปยื่นให้สถานทูต เพื่อรับรองการแปลและเสียค่าธรรมเนียมรับรองเอกสารอีกครั้ง
  • นำเอกสารทั้ง 3 ชุดที่ได้รับการรับรองทั้งที่ 2 จากสถานทูตนำไปรับรองที่กระทรวง กรมการกงสุลแจ้งวัฒนะ หรือกงสุลชั่วคราวต่างๆ ที่อยู่ใกล้บ้านท่านหรือจังหวัดของท่าน 
  • (สามารถค้นหากงสุลได้จากหน้าค้นหาของ google คำว่า รับรองนิติกรณ์
  • หลังจากได้เอกสารรับรองจาก กระทรวงเรียบร้อยแล้ว จึงจะนำไปจดทะเบียนสมรสได้
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส
  1. นำเอกสารที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงแล้ว พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด
  2. สำเนาหนังสือเดินทางและสำเนาหน้าตราประทับวีซ่าเข้าเมืองไทยล่าสุดของชาวฝรั่งเศส
  3. หนังสือเดินทางเล่มจริง
  4. ล่ามฝรั่งเศส-ไทย (กรณีคู่สมรสพูดภาษาอังกฤษได้ อาจจะได้รับการอนุโลมให้ล่ามเป็นเจ้าหน้าที่เขตหรือคู่สมรสชาวไทยแทนได้)
  5. พยานพร้อมบัตรประชาชน 2 คน บางสำนักงานเขตอาจจะให้มีพยานเพียง 1 คนได้และเจ้าหน้าที่ช่วยเป็นพยาน 1 คนแทน
รายการเอกสารของคนไทยที่ต้องเตรียมไปจดทะเบียนสมรส
  1. บัตรประชาชน 
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน 
  3. สำเนาทะเบียนการหย่า(ถ้ามี)
  4. ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล(ถ้ามี) 
  5. ใบมรณะบัตรคู่สมรสเดิม(ถ้ามี) 
  6. สูติบัตรบุตรที่มีร่วมกัน (ถ้ามี)
  7. ถ้าเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนจะต้องเปลี่ยนกลับมาใช้นามสกุลเดิม  เอกสารอื่นๆ ให้ทำการตรวจสอบรายการเอกสารจากสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่จะเดินทางไปจดทะเบียนสมรส
  8. กรณี่ที่หย่าร้างไม่เกิน 310 วันต้องมีใบรับรองแพทย์จาก ร.พ.
หลังจากบ่าว-สาวได้จดทะเบียนสมรสเรียบร้อยแล้ว
มีขั้นตอนต่อไปดังต่อไปนี้
  • หลังจากได้ทะเบียนสมรสคร.2 และใบสำคัญการสมรส คร.3 มาอย่างละ 2 ชุด 
  • ให้นำทะเบียนสมรส คร.2 ไปรับรอง นิติกรณ์ ที่กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ หลักสี่ หรือนิติกรณ์ที่อยู่ใกล้บ้านท่านอีกครั้ง
  • แนะนำให้ขอรับรองด่วนแบบ 1 วันทำการเพราะเอกสารเป็นภาษาไทยไม่ต้องพิสูจน์คำแปล
  • นำทะเบียนสมรส คร.2 ที่รับรองแล้วมาแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส 
  • กรอกแบบฟอร์มคำร้องยื่นขอทะเบียนสมรสฝรั่งเศสและสมุดครอบครัวของประเทศฝรั่งเศส
  • นำเอกสารและแบบฟอร์มคำร้องที่กรอกแล้วไปบันทึกสมรสในประเทศฝรั่งเศสกับสถานทูตฝรั่งเศส
  • รออีเมลยืนยันจากเจ้าหน้าที่สถานทูต 
  • ทำการตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องก่อนจัดพิมพ์สมุดครอบครัว
  • สมุดครอบครัวและบันทึกสมรสฝรั่งเศสใช้ระยะเวลาดำเนินการ 2-4 อาทิตย์
  • เดินทางไปรับสมุดครอบครัวและทะเบียนสมรสฝรั่งเศส จะต้องตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องขอสมุดก่อนรับมาจากเจ้าหน้าที่อีกคร้ัง หากมีข้อผิดพลาดให้ทำการโต้แย้งและดำเนินการแก้ไข
  • หลังจากรับสมุดครอบครัวและทะเบียนสมรสฝรั่งเศสมาแล้วสามารถเก็บไว้สำหรับการขอวีซ่าไปเยี่ยมคู่สมรสหรือวีซ่าระยะยาวเพื่อการพำนักกับคู่สมรสชาวฝรั่งเศส แต่เอกสารดังกล่าวมีอายุเพียง 3 เดือนหากจะต้องยื่นวีซ่าให้นำสมุดครอบครัวตัวจริงมาขอคัดทะเบียนสมรสใหม่ด้วยตัวท่านเอง
ระยะเวลาขั้นตอนดำเนินการทั้งหมดนี้จะใช้ระยะเวลาทำเอกสาร รอเอกสาร รวมถึงการทำสมุดครอบครัว หลังจากการสมรส จะใช้เวลา 3-4 เดือน เพราะฉะนั้นให้วางแผนเรื่องระยะเวลาการหมดอายุของเอกสารให้ดีและระยะเวลาที่คู่สมรสชาวฝรั่งศสจะใช้ในการดำเนินการจดทะเบียน

สอบถามเพิ่มเติมหรือต้องการใช้บริการแปล-ล่าม สามารถโทรสอบถามได้ที่ คุณซีวีซ่า 0924252894 เรายินดีแนะนำและจัดเตรียมเอกสารก่อนยื่นเพื่อความถูกต้องของเอกสาร

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวอินโดนีเซีย











รับจดทะเบียนสมรสกับชาวอินโดนีเซีย
เอกสาคู่สมรสชาวอินโดนีเซีย
  • หนังสือเดินทาง
  • หนังสือรับรองสถานภาพสมรส(ใบโสด)ขอรับรองมาจากประเทศอินโดนีเซีย
  • ข้อมูลชื่อที่อยู่ พยานชาวฟิลิปปินส์จำนวน 2 ท่าน (เจ้าตัวไม่ต้องมาเอาแต่ข้อมูล)
  • ทะเบียนการหย่า(ถ้ามี)
http://www.kemlu.go.id/stockholm/id/layanan-konsuler/pelayanan-wni/Pages/Surat-Keterangan.aspx
In particular, these requirements are as follows:
In Bahasa Indonesia:
KTP asli beserta fotocopynya
Paspor asli beserta fotocopynya
Surat Keterangan Status Nikah dari Kelurahan di Indonesia
Fotokopi identitas calon suami/isteri
Akta Cerai asli dan fotocopnya (bagi duda/janda cerai)
Akta Kematian mantan suami/isteri (bagi duda/janda)
Surat Izin Orang Tua yang disahkan oleh Kelurahan (bagi yang berumur kurang dari 20 tahun)
Biaya sebesar 20 US Dollar (dibayarkan dalam US dollar saja)
Waktu Permohonan Surat pukul 09.00 – 11.45 setiap hari kerja. Surat tersebut dapat diambil pada hari kerja berikutnya pukul 14.00 – 15.30
Yang bersangkutan harus datang ke KBRI (tidak dapat diwakilkan)
In English
Elucidation Letter for marriage registration in Thailand:

Original and copy of ID Card (KTP)
Original and copy of passport
Elucidation of marital status from District office in Indonesia (Surat Keterangan Belum Menikah dari Kelurahan/Kecamatan)
Copy of your bride/groom ID Card
Original and copy of Divorce Certificate (for divorce status)
Original and copy of Death Certificate of ex husband/wife (for widow/widower)
Parent permission letter legalized by District Office (for the one who are under 20 years old)
Administration fees: US$ 20 (payment only in US dollar)
Application must be made in person
The above documents need not to be translated in English
Application time is at 09.00-11.45 of every working days. The document will be returned on the next working days at 14.00-15.30
Once you have obtained the affirmation from the Indonesian embassy, you can now proceed with the next part of the marriage process, that is translating the document into Thai and legalizing it at the Ministry of Foreign Affairs. For the whole procedure please see Thai Marriage Registration
Tags: indonesian embassy thailand, marriage in Thailand for indonesian, marry indonesian in thailand, thai marriage indonesian


เอกสารสำหรับคู่สมรสชาวไทยที่จะต้องเตรียม
  1. หนังสือเดินทาง (ุถ้ามี)
  2. บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ชุด (ถ้าไม่มีไปขอคัดที่อำเภอได้)
กรณีเคยหย่าร้างกับชาวต่างชาติไม่เกิน 6 เดือน
  1. ใบรับรองแพทย์ยืนยันว่าไม่ต้ังครรภ์กับคู่สมรสเดิม
กรณีไม่เคยจดทะเบียนสมรส แต่กำลังตั้งครรภ์ กับว่าที่คู่สมรส ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ สามารถจดทะเบียนสมรสได้เลย 

สำหรับลูกค้าที่ประสงค์จะใช้บริการกับทางเราฯ

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวฟิลิปปินส์










รับจดทะเบียนสมรสกับชาวฟิลิปปินส์

เอกสาคู่สมรสชาวฟิลิปปินส์
  • หนังสือเดินทาง
  • หนังสือรับรองสถานภาพสมรส(ใบโสด)ขอรับรองมาจากประเทศฟิลิปปินส์
  • ข้อมูลชื่อที่อยู่ พยานชาวฟิลิปปินส์จำนวน 2 ท่าน (เจ้าตัวไม่ต้องมาเอาแต่ข้อมูล)
  • ทะเบียนการหย่า(ถ้ามี)


เอกสารสำหรับคู่สมรสชาวไทยที่จะต้องเตรียม
  1. หนังสือเดินทาง (ุถ้ามี)
  2. บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ชุด (ถ้าไม่มีไปขอคัดที่อำเภอได้)
กรณีเคยหย่าร้างกับชาวต่างชาติไม่เกิน 6 เดือน
  1. ใบรับรองแพทย์ยืนยันว่าไม่ต้ังครรภ์กับคู่สมรสเดิม
กรณีไม่เคยจดทะเบียนสมรส แต่กำลังตั้งครรภ์ กับว่าที่คู่สมรส ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ สามารถจดทะเบียนสมรสได้เลย 

สำหรับลูกค้าที่ประสงค์จะใช้บริการกับทางเราฯ 
สิ่งที่เราจะดำเนินการช่วยเหลือทั้งหมด

https://www.marriageinthailand.com/

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวสเปน













ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวสเปน
เอกสารสำหรับคู่สมรสชาวไทย

  • สูติบัตร
  • หนังสือรับรองสถานภาพสมรส (ใบโสด)
  • หนังสือเดินทาง

เอกสารสำหรับคู่สมรสชาวสเปน
  • 1. สูติบัตร ( Certificado literal de nacimiento legalizado) *แนะนำว่าถ้าเดินทางมาเพื่อมาแต่งที่นี่ควรถือมาด้วยเลยจะได้ไม่เสียเวลาส่งมาทีหลังนะคะ
  • 2. ใบรับรองโสด , ใบหย่า (ถ้ามี) (CERTIFICADO DE FE DE VIDA Y ESTADO, SOLTERIA, DIVORCO (si hubiere lugar).) ตัวนี้นะคะ จริงๆแล้วควรไปที่สถานีตำรวจ หรือ อำเภอของทางเสปนที่ที่ฝ่ายชายอยู่นะคะ ไม่แน่ใจว่าที่ไหนแน่ เพราะแล้วแต่แคว้นนะคะ แต่ สามีนิคกี้ขอที่สถานทูตสเปนที่ไทยเลยคะเค้าจะเป็นใบสาบานตนกรอกเอกสารเซ็นชื่อนะคะ แค่นี้ก็ได้ใบรับรองโสดแล้ว
  • 3. หลักฐานการงาน และการเงิน(Edvidencia de que dispone de medios economicos suficientes para mantener a su futuro conyuge). .เป็นstatement และมีการรับรองจากธนาคารก็ได้คะ
  • 4. พาสปอร์ต (Passport)

สำหรับการทำนัดหมายจะต้องทำผ่านอีเมล จึงจะต้องวางแผนในการดำเนินการขอใบโสดของชาวสเปน ควรจะเพื่อเวลาไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์


สอบถามโทร 0915994999
.



ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวมอลต้า











ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวมอลต้า

เนื่องจากประเทศมอลต้าไม่มีสถานทูตในประเทศไทย มีเพียงกงสุลกิติมศักดิ์ จะต้องทำการนัดหมายกับทางกงสุลผ่านทางอีเมลเท่านั้น เพื่อขอทำนัดหมายและขอรายการเอกสารสำหรับการจดทะเบียนสมรสกับชาวมอลต้า


  • ADDRESS
  • Maltese Honorary Consulate in Bangkok, Thailand

    485/21 Narathivasrahanakarin Road, Silom
    Bangkok 10500
    Thailand
  • TELEPHONE
  • (+66) (2) 234 9729
    (+66) (2) 233 6872
  • FAX
  • (+66) (2) 236 6538
    (+66) (2) 236 6540
  • EMAIL
  • maltaconsul.bangkok@gov.mt
    niphan.benjavilas@gov.mt
  • WEBSITE
  •  
  • OFFICE HOURS
  • 09.00 - 15.00
  • HEAD OF MISSION
  • Mr Niphan Benjavilas, Honorary Consul
  • ต้องการปรึกษาฟรือใช้บริการจดทะเบียนสมรส

  • สอบถามโทร 0915994999



ขั้นตอนจดทะเบียนสมรสกับชาวสิงคโปร์



ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวสิงคโปร์

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวสิงคโปร์ในเมืองไทย
  • ให้ฝ่ายชาวสิงคโปร์ เข้าไปดูขั้นตอนการดำเนินการขอจดทะเบียนสมรสในเมืองไทยตาม ลิงค์ ที่ได้ให้ไว้ด้านบน
  • ชาวสิงคโปร์จะต้องไปยื่นคำร้องว่ามีความประสงค์จะมาจดทะเบียนสมรสกับใคร ชื่อ นามสกุล อะไรที่เมืองไทย(ถือเอกสารมาแล้วจะไปจดกับคนอื่นไม่ได้ เพราะในเอกสารจะระบุ ชื่อว่าที่คู่สมรสไว้ในเอกสาร)
  • หลังจากเอกสารที่อำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกให้แล้ว จะต้องถือหนังสือดังกล่าวมา ติดต่อที่สถานทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย เพื่อให้เจ้าหน้าที่สถานทูต ออกหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่เป็นภาษาอังกฤษให้
    • นำเอกสารทั้งหมด ไปที่แจ้งวัฒนะหลักสี่ กรมการกงสุล แผนที่ทางไปกรมการกงสุล เพื่อขอประทับรับรองเอกสารเพื่อให้ใช้ได้ที่อำเภอสำหรับจดทะเบียนสมรส
    • รายการเอกสารสำหรับจดทะเบียนสมรสที่อำเภอหรือเขต
      รายการเอกสารคู่สมรสชาวสิงคโปร์
      • หนังสือเดินทางเล่มจริงพร้อมสำเนาหน้าวีซ่าเข้ามาเมืองไทย และหน้าแรกที่มีรูปถ่าย
      • หนังสือรับรองการจดทะเบียน พร้อมสำเนา 2 ชุด

      รายการเอกสารคู่สมรสชาวไทย
      • บัตรประชาชน พร้อมสำเนา 2 ชุด
      • สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ชุด
      • สำหรับบางอำเภอหรือเขตต้องการพยาน ที่เป็นญาติพร้อมบัตรประชาชน กรุณาตรวจสอบกับอำเภอนั้นๆก่อนเดินทางไทย

    สำหรับลูกค้าที่ประสงค์จะใช้บริการเรา 
    https://www.marriageinthailand.com/

    ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวสวิสเซอร์แลนด์















    จดทะเบียนสมรสกับชาวสวิส

    จดทะเบียนสมรสกับชาวสวิสในประเทศไทย 

    สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ กรุงเทพฯ
    ข้อแนะนำการจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย
    บุคคลสัญชาติสวิสที่ประสงค์จะจดทะเบียนสมรสกับบุคคลสัญชาติไทยในประเทศไทยต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
    ท่านต้องไปติดต่อที่สถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมทั้งยื่นเอกสารดังต่อไปนี้

    สำหรับบุคคลสัญชาติสวิส
    • หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
    • หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน (สำหรับผู้ที่ขึ้นทะเบียนกับสถานทูตฯ ไม่จำเป็นต้องใช้)
    • ต้นฉบับใบรับรองรายได้หรือใบรับรองสถานะทางการเงิน(เช่น ใบรับรองเงินเดือน, ใบรับรองเงินบำนาญ หรือใบรับรองเงินฝากธนาคาร)
    • ที่อยู่ของบุคคลอ้างอิงในประเทศสวิตเซอร์แลนด์จำนวน 2 แห่ง(ไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารราชการ เพียงแค่แจ้งข้อมูลที่อยู่เท่านั้น)
    • หนังสือเดินทาง
    • หนังสือรับรองสถานภาพการสมรสสามารถขอได้ที่สำนักทะเบียนถิ่นฐานเดิมของท่าน
    • หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่สามารถขอได้ที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ท่านพำนักอยู่

    สำหรับบุคคลสัญชาติไทย

    • ทะเบียนบ้านสำหรับช่วงเวลาพำนัก 6 เดือนล่าสุด
    • สูติบัตรที่มีข้อมูลชื่อตัวและชื่อสกุลของบิดามารดา
    • หลักฐานแสดงสถานภาพ (โสด, หย่าร้าง,ม่าย) ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 เดือน
    • สำเนาทะเบียนครอบครัว
    • สำเนาทะเบียนการหย่า (กรณีสถานภาพหย่าร้าง)
    • มรณบัตรของคู่สมรสเดิมที่ถึงแก่กรรม (กรณีสถานภาพม่าย)
    • หนังสือเดินทางประเทศไทยหรือบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีไม่มีหนังสือเดินทาง)
    • ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล
    • สำหรับบุตรที่มีร่วมกัน
    • สูติบัตร
    • หนังสือเดินทางประเทศไทย
    • ทะเบียนรับรองบุตร (ถ้าเป็นไปได้)

    ท่านต้องยื่นต้นฉบับเอกสารต่างๆนี้หรือทั้งสำเนาที่ได้รับรองสำเนาถูกต้องอย่างเป็นทางการแล้ว
    ท่านต้องนำเอกสารต่างๆที่เป็นภาษาไทยไปให้สำนักงานแปลเอกสารแปลเป็นภาษาราชการของ
    ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ภาษาใดภาษาหนึ่ง
     (ภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส หรืออิตาเลียน) 
    รายชื่อสำนักงานแปลเอกสารดูได้ที่
    www.eda.admin.ch/bangkok

    สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกตรวจสอบเอกสารโดยให้ผ่านการรับรองจากระทรวงการ
    ต่างประเทศและอาจมีการเรียกขอเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมจากหน่วยงานราชการควบคุมประจำรัฐได้

    Embassy of Switzerland
    35 NorthWireless Road, (Thanon Witthayu)
    Bangkok 10330
    G.P.O. Box 821, Bangkok 10501
    Telefon: 02 253 01 56-60, Fax: 02 255 44 81
    ban.vertretung@eda.admin.ch,
    www.eda.admin.ch/bangkok

    ชื่อสกุล
    ก่อนการสมรส สถานเอกอัครราชทูตฯ จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลที่ตามหลังการสมรสในเรื่องการใช้ชื่อสกุล
    จากหลักฐานที่เรียกมาทั้งหมดนี้ สถานเอกอัครราชทตู ฯ จะออกใบขอทำการสมรส (Marriage Application)
     
    ฉบับภาษาอังกฤษให้ซึ่งผู้ยื่นขอทำการสมรสต้องนำไปแปลเป็นภาษาไทยใบขอทำการสมรสทั้งต้นฉบับและฉบับแปลนั้น
    ต้องให้กระทรวงการต่างประเทศรับรองเพื่อใช้สำหรับการจดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียน
     (อำเภอ) ในกรุงเทพฯ 
    หรือต่างจังหวัดที่อยู่กระทรวงการต่างประเทศ

    กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
    ชั้น
     3 อาคารกรมการกงสุล
    123
     ถนนแจ้งวัฒนะ ทุ่งสองห้อง หลักสี่ กทม. 10210
    โทร.
     0 2575 1056-58

    นอกจากใบขอทำการสมรสแล้ว บุคคลสัญชาติสวิสต้องแสดงหนังสือเดินทางต่อทางอำเภอด้วย
    หลังจากทำการสมรสเรียบร้อยแล้ว จะต้องยื่นสำเนาทะเบียนสมรสที่ได้รับการรับรอง จำนวน
     2 ชุด
    (ซึ่งเป็นเอกสารที่มีลายมือชื่อของคู่สมรส) ให้แก่สถานเอกอัครราชทูตฯ สำนักทะเบียนจะออกสำเนาทะเบียนการสมรสนี้
    ให้เมื่อได้รับการร้องขอจากคู่สมรส
     (ไม่ใช่ใบสำคัญการสมรสที่มีกรอบสี) การจดทะเบียนสมรสลงในทะเบียนครอบครัวที่
    สำนักทะเบียนถิ่นฐานเดิมในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น

    จะใช้ระยะเวลาประมาณ
     2 เดือน

    ค่าธรรมเนียม
    การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของสถานเอกอัครราชทูตฯ นั้นเป็นไปตามบทบัญญัติเรื่องค่าธรรมเนียมของสถาน-
    เอกอัครราชทูตและสถานกงสุลสวิตเซอร์แลนด์ลงวันที่29.11.2006
     และบทบัญญัติเรื่องค่าธรรมเนียมในเรื่องงานทะเบียน 
    ลงวันที่
     27.10.1999 สำหรับการออกใบขอทำการสมรส จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นเงินประมาณ 150.- ฟรังก์สวิส
    (ชำระเป็นอัตราเงินท้องถิ่น)

    การเดินทางเข้าประเทศและการขอพำนักในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    คู่สมรสชาวต่างชาติต้องได้รับการอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศจากตำรวจควบคุมคนต่างด้าวของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
    โดยต้องยื่นคำร้องขอเดินทางเข้า
     (แบบคำร้อง 3 ชุด) พร้อมรูปถ่าย 3 ใบ ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
    ซึ่งคำร้องดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังตำรวจควบคุมคนต่างด้าวเพื่อพิจารณาการดำเนินการจนกระทั่งได้รับคำตอบอนุญาต
    ให้เดินทางเข้าประเทศนั้นใช้เวลาประมาณ
     8 สัปดาห์หากผู้ยื่นคำร้องประสงค์จะพำนักในประเทศสวิตเซอร์แลนด์หลังการสมรส
    ต้องเตรียมขอคัดทะเบียนอาชญากรรมของประเทศไทยด้วย
     (โดยขอเป็นภาษาอังกฤษหรือแปลเป็นภาษาราชการของสวิส
    ภาษาใดภาษาหนึ่ง) สามารถขอคัดทะเบียนอาชญากรรมได้ที่

    ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ
    กองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    กองกำกับการงาน
     3 อาคาร 24 ถนนพระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
    โทร
     0 2205 2168-9


    จดทะเบียนสมรสกับชาวสวิสในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ 

    สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์กรุงเทพฯ
    ข้อแนะนำการจดทะเบียนสมรสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์สำนักทะเบียนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการควบคุมประจำรัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบคำถามเรื่อง
    การจดทะเบียนสมรสพร้อมทั้งให้ข้อมูลเรื่องระเบียบและเอกสารที่ผู้ยื่นขอทำการสมรสต้องนำไปแสดง
    ผู้ยื่นขอทำการสมรสที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ควรสอบถามรายละเอียดการดำเนินการที่สำนักทะเบียน
    ที่คาดว่าจะทำการสมรสบุคคลสัญชาติสวิสที่มีถิ่นที่อยู่หรือพำนักชั่วคราวในประเทศไทยและบุคคลสัญชาติไทย
    ควรดำเนินการดังต่อไปนี้ท่านต้องไปติดต่อ ที่สถานเอกอคัรราชทตุฯ พร้อมทั้งยื่นต้นฉบับเอกสารดังต่อไปนี้

    สำหรับบุคคลสัญชาติสวิส
    หากผู้ยื่นขอทำการสมรสสัญชาติสวิสพำนักในประเทศไทยและยังไม่เดินทางกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    จนกว่าจะจดทะเบียนสมรสสามารถยื่นคำร้องขอเตรียมการสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
     
    ได้พร้อมทั้งยื่นเอกสารเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
    • หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส (มีอายุไม่เกิน 6 เดือน)
    • หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่(มีอายุไม่เกิน 6 เดือน)
    • หนังสือเดินทาง(สถานเอกอัครราชทูตฯ จะเป็นผู้ออกหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ให้กับผู้ที่ขึ้นทะเบียนกับสถานเอกอัครราชทูตฯ)
    • หนังสือรับรองสถานภาพการสมรสสามารถขอได้ที่สำนักทะเบียนถิ่นฐานเดิมของท่าน
    • หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่สามารถขอได้ที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ท่านพำนักอยู่

    สำหรับบุคคลสัญชาติไทย

    • สำเนาคำร้องขอเตรียมการสมรสที่กรอกโดยผู้ยื่นขอทำการสมรสกับสัญชาติสวิส เรียบร้อยแล้วในกรณีที่ผู้ยื่นขอทำการสมรสที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้มายื่นเอกสารด้วย
    • ทะเบียนบ้านสำหรับช่วงเวลาพำนัก 6 เดือนล่าสุด
    • สตูิบัตรที่มีข้อมูลชื่อตัวและชื่อสกลุ ของบิดามารดา
    • หลักฐานแสดงสถานภาพ (โสด, หย่าร้าง,ม่าย) ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 เดือน
    • สำเนาทะเบียนครอบครัว
    • สำเนาทะเบียนการหย่า (กรณีสถานภาพหย่าร้าง)
    • มรณบตั รของค่สู มรสเดมิ ที่ถงึ แก่กรรม (กรณีสถานภาพม่าย)
    • หนังสือเดินทางประเทศไทยหรือบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีไม่มีหนังสือเดินทาง)
    • ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล
    • สำหรับบุตรที่มีร่วมกัน
    • สูติบัตร
    • หนังสือเดินทางประเทศไทย
    • ทะเบียนรับรองบุตร (ถ้าเป็นไปได้)

    ท่านต้องยื่นต้นฉบับเอกสารต่างๆนี้ หรือสำเนาที่ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว

    สำเนาเอกสารที่รับรองสำเนาถูกต้องรวมทั้งเอกสารคัดจากทะเบียนราษฎร์ต่างๆ
    นั้นจะสามารถใช้ได้ก็ต่อเมื่อได้รับการประทับตราสีแดงของอำเภอหรือได้รับการรับรองจาก
    กระทรวงการต่างประเทศของไทยเท่านั้น

    Embassy of Switzerland
    35 NorthWireless Road, (Thanon Witthayu)
    Bangkok 10330
    G.P.O. Box 821, Bangkok 10501
    Telefon: 02 253 01 56-60, Fax: 02 255 44 81
    ban.vertretung@eda.admin.ch,
    www.eda.admin.ch/bangkok

    ท่านต้องนำเอกสารต่างๆที่เป็นภาษาไทยไปให้สำนักงานแปลเอกสารแปลเป็นภาษาราชการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    ภาษาใดภาษาหนึ่ง
     (ภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส หรืออิตาเลียน) รายชื่อสำนักงานแปลเอกสารดูได้ที่ www.eda.admin.ch/bangkok

    สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกตรวจสอบเอกสารโดยให้ผ่านการรับรองจากระทรวงการต่างประเทศ 
    และอาจมีการเรียกขอเอกสารอื่นๆเพิ่มเติมจากหน่วยงานราชการควบคุมประจำรัฐได้

    เมื่อยื่นเอกสารทั้งหมดแล้ว ท่านต้องกรอกแบบคำร้องต่างๆ ดังนี้ ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
    -คำร้องขอเตรียมการสมรส
    -คำแถลงเรื่องเงื่อนไขในการจดทะเบียนสมรส
    สถานเอกอัครราชทูตฯ จะดำเนินการส่งคำร้องขอเตรียมการสมรสและคำแถลงเรื่องเงื่อนไขในการจดทะเบียนสมรส
     
    พร้อมทั้งเอกสารต่างๆดังที่กล่าวมานี้ไปยังสำนักทะเบียนที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการสมรสโดยผ่านหน่วยงานทะเบียนกลาง
    ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่กรุงเบิร์น

    ชื่อสกุล
    ก่อนการสมรส สำนักทะเบียนในประเทศสวิตเซอร์แลนด์หรือสถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
    การใช้ชื่อสกุลหลังการสมรส

    ค่าธรรมเนียม
    การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของสถานเอกอัครราชทูตฯ
    นั้นเป็นไปตามบทบัญญัติเรื่องค่าธรรมเนียมของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลสวิตเซอร์แลนด์ลงวันที่29.11.2006
    และบทบัญญัติเรื่องค่าธรรมเนียมในเรื่องงานทะเบียน ลงวันที่27.10.1999
     โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นเงินประมาณ 
    215
     ฟรังก์สวิส (ชำระเป็นอัตราเงินท้องถิ่น) เมื่อยื่นเอกสาร

    การเดินทางเข้าประเทศและการขอพำนักในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    คู่สมรสชาวต่างชาติต้องได้รับการอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศจากตำรวจควบคุมคนต่างด้าวของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
    โดยต้องยื่นคำร้องขอเดินทางเข้า
     (แบบคำร้อง 3 ชุด) พร้อมรูปถ่าย 3 ใบ ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
    ซึ่งคำร้องดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังตำรวจควบคุมคนต่างด้าวเพื่อพิจารณา การดำเนินการจนกระทั่งได้รับคำตอบอนุญาต
    ให้เดินทางเข้าประเทศนั้นใช้เวลาประมาณ
     8 สัปดาห์ หากผู้ยื่นคำร้องประสงค์จะพำนักในประเทศสวติเซอร์แลนด์หลังการสมรส 
    ต้องเตรียมขอคัดทะเบียนอาชญากรรมของประเทศไทยด้วย (โดยขอเป็นภาษาอังกฤษ หรือแปลเป็นภาษาราชการของสวิส

    ภาษาใดภาษาหนึ่ง) สามารถขอคัดทะเบียนอาชญากรรมได้ที่

    ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ
    กองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    กองกำกับการงาน
     3 อาคาร 24 ถนนพระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
    โทร
     0 2205 2168-9
    การแจ้งการสมรสที่ประเทศไทย (สำหรับบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน หนังสือเดินทาง)
    สำหรับการแจ้งการสมรสที่ประเทศไทย คู่สมรสต้องติดต่อสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตไทยจะแปลและรับรองใบสำคัญการสมรส คู่สมรสต้องนำเอกสาร
     (ใบสำคัญการสมรสพร้อมคำแปล)
    ไปให้กระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทยรับรองอีกครั้ง เพื่อที่จะได้นำใปใช้ขอหรือแก้ไขบัตรประจำตัวประชาชน
    หนังสือเดินทางที่ประเทศไทย

    ต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม หรือสนใจใช้บริการ รับจดทะเบียนสมรสสามารถติดต่อเราได้ที่

    สอบถามโทร 0915994999

    รับจดทะเบียนสมรสกับชาวนอร์เวย์

    ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวนอร์เวย์ 1. ฝ่ายคู่สมรสชาวไทยต้องส่งสำเนาหนังสือเดินทางและถิ่นที่อยู่ตามทะเบียน เขียนหร...